Welcome

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556



10 ธันวาคม 2556

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

EAED 2209 เวลา 11.30-14.00 น.


   หมายเหตุ

 งดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดวันรัฐธรรมนูญ



3 ธันวาคม 2556

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

EAED 2209 เวลา 11.30-14.00 น.


อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานให้เสร็จทั้งหมดในคาบเรียนนี้ค่ะ

เสริมบทความ 


ศิลปะบำบัดในเด็กพิเศษ   Art Therapy in Special Children

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา


         ศิลปะ (Art) คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิ ศาสนาในทางจิตวิทยา ศิลปะ ก็คือหนทางแห่งการปลดปล่อยอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ตามความต้องการของแต่ละคน และช่วยพัฒนาศักยภาพในด้านการเรียน การเล่น และการแสดงออกต่างๆศิลปะบำบัด (Art Therapy) คือ การใช้กิจกรรมทางศิลปะเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ และใช้กิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสม ช่วยในการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ดีขึ้นเพื่อ ลดปัญหาทางอารมณ์ พฤติกรรม และเสริมสร้างศักยภาพในด้านต่างๆมีการใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ขีด เขียน วาด ระบาย ตัดปะ ปั้น ถักทอ เพื่อเป็นทางเลือกที่จะระบายความรู้สึกนึกคิด จนสามารถเข้าใจ และจัดการกับความรู้สึกได้ สามารถสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้

แนวคิดของศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด เป็นรูปแบบหนึ่งของการแพทย์เสริมและทางเลือก ที่เน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม นำมาเสริมในการดูแลรักษาแนวทางหลักให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกันเป็นทีมระหว่างนักศิลปะบำบัดกับแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วย ไม่ใช่รูปแบบการบำบัดรักษาที่สามารถแยกเป็นอิสระได้ ต้องทำไปควบคู่กันศิลปะบำบัด มีประโยชน์ในด้านการพัฒนาอารมณ์ สติปัญญา สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วย กระตุ้นการสื่อสาร และเสริมสร้างทักษะสังคมอีกด้วยศิลปะบำบัดการแสดงออกทางผลงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นลายเส้น สี รูปทรง สัญลักษณ์ อารมณ์ ความหมาย ที่สื่อออกมาทั้งหมดสามารถนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดว่าเป็นอย่างไร หรือสภาพจิตมีปัญหาอย่างไรการประเมินผลการดูแลรักษา เน้นที่กระบวนการ และกิจกรรมทางศิลปะ ไม่ได้เน้นที่ผลงานทางศิลปะ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนศิลปะ ที่จะเน้นผลงานและเพิ่มความสามารถทางศิลปะ

ประโยชน์ของศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัด มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลของชีวิต ช่วยบรรเทาปัญหา เยียวยาจิตใจ และเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อย่างรอบด้าน ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ สังคม และสุนทรียศาสตร์ ไปพร้อมๆ กัน โดยถ่วงน้ำหนักให้แตกต่างกันตามสภาพปัญหาของแต่ละคนศิลปะบำบัด มีประโยชน์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และกลุ่มเป้าหมายที่นำไปใช้

1) ศิลปะบำบัดเพื่อการเยียวยาจิตใจ ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ขจัดความขัดแย้งภายในส่วนลึกของจิตใจ ช่วยให้มีระดับอารมณ์คงที่ดีขึ้น ไม่ฉุนเฉียว หรือโศกเศร้ามากนัก สามารถเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นต่างๆ เข้ามากระทบ นำมาใช้ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม

2) ศิลปะบำบัดเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหว ช่วยในการตอบสนองต่อความต้องการตามธรรมชาติที่จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ให้สามารถทำกิจกรรมที่ละเอียด มีความซับซ้อนมากขึ้น ช่วยให้มีการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อมัดต่างๆ อย่างคล่องแคล่ว และช่วยควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำมาใช้ใน กลุ่มเด็กสมองพิการ หรือ ซีพี (cerebral palsy) ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว และกลุ่มแอสเพอร์เกอร์ (asperger's syndrome) ซึ่งมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อมัดเล็กร่วมด้วย

3) ศิลปะบำบัดช่วยเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร เนื่องจากศิลปะเป็นภาษาสากลที่สามารถเข้าใจตรงกันได้ แม้จะใช้ภาษาพูดแตกต่างกัน เด็กสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept) ในเรื่องต่างๆ ผ่านทางศิลปะได้เร็ว นำมาใช้ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาด้านการพูดและการสื่อสาร (communication disorder) กลุ่มเด็กออทิสติก (autistic disorder) และกลุ่มที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disabilities)

4) ศิลปะบำบัดช่วยเสริมสร้างทักษะสังคม ช่วยให้เข้าใจอารมณ์ ความคิดของตนเอง และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์ มีทักษะการแก้ปัญหาที่เหมาะสม สามารถปรับตัวในสังคมได้อย่างเหมาะสม เน้นการใช้รูปแบบศิลปะบำบัดแบบกลุ่ม เป็นการเปิดโอกาสให้มีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น ช่วยให้สมาชิกในกลุ่มเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักการรอคอย ผลัดกันทำกิจกรรม เรียนรู้การช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ให้การยอมรับผู้อื่น และได้รับการยอมรับจากผู้อื่น นำมาใช้ในกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องด้านทักษะสังคม (social skill deficit) และการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น

กระบวนการและรูปแบบศิลปะบำบัด

ในการทำศิลปะบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่มีการออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1) สร้างสัมพันธภาพ เป็นขั้นแรกของการบำบัด สร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับการบำบัด ซึ่งรวมถึงการประเมินสภาพปัญหา และวางแผนการบำบัดรักษาด้วย

2) ค้นหาปัญหา เป็นขั้นของการสำรวจ ค้นหา วิเคราะห์ปมปัญหา ความขัดแย้งภายในส่วนลึกของจิตใจ

3) ทบทวนประสบการณ์ เป็นขั้นการบำบัด โดยดึงประสบการณ์แห่งปัญหาขึ้นมาจัดเรียง ปรับเปลี่ยน แก้ไขใหม่ ในมุมมองและสภาวะใหม่

4) เสริมสร้างพลังใจ ให้แรงเสริม เป็นขั้นสุดท้ายของการบำบัด โดยเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และให้โอกาสแห่งการเปลี่ยนแปลง

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา และอาจารย์สมจิตร ไกรศรี ได้ร่วมพัฒนา “โปรแกรมศิลปกรรมบำบัด สถาบันราชานุกูล” สำหรับผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ช่วงอายุ 15-25 ปี โดยจัดเป็นโปรแกรมกลุ่ม รูปแบบโรงพยาบาลกลางวัน สัปดาห์ละ 4 ครั้งๆ ละ 6 ชั่วโมง ซึ่งประกอบด้วย ฐานกิจกรรมศิลปะ 6 ฐาน คือ วาดรูป ระบายสี ปั้น ประดิษฐ์ ถักทอ และบาติก เสริมด้วยกิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมเสริมประสบการณ์พิเศษ ในรูปแบบบูรณาการ พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถลดระดับความรุนแรงของอารมณ์ลง ลดพฤติกรรมก้าวร้าว เสริมสร้างสมาธิ และพัฒนาทักษะสังคม


ลักษณะเด่นของศิลปะบำบัด

ศิลปะบำบัดมีคุณลักษณะเด่นคือ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่เข้าใจง่าย ในทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ แม้ว่าจะยังไม่มีภาษา ยังพูดไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวไม่คล่อง ก็สามารถเรียนรู้ได้ผ่านงานศิลปะเป็นแนวทางการบำบัดทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกระดับ ตามปัจจัยความพร้อมด้านบุคลากรเป็นสำคัญ ขยายผลได้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการเร่งด่วนที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเป็นจำนวนมากศิลปะบำบัด สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้ได้อย่างกลมกลืนตามสภาพพื้นที่อีกด้วย เป็นการนำศาสตร์หลายแขนงมาบูรณาการ และมีการวางแผนการบำบัดรักษา เพื่อให้สอดคล้องตอบสนองต่อสภาพปัญหาของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกัน

การประยุกต์ใช้ศิลปะบำบัดในเด็กพิเศษ

มีการนำศิลปะบำบัดไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งในผู้ป่วยจิตเวช ในผู้มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม ในผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา และในผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆการนำศิลปะบำบัดมาประยุกต์ใช้ในเด็กพิเศษกลุ่มผู้บกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถเสริมสร้างพัฒนาการ และช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านอารมณ์ จิตใจ และพฤติกรรม ดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้เต็มที่ยิ่งขึ้นMusick พบว่าเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา จะมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์ซึ่งสามารถพัฒนาได้ และช่วยส่งเสริมให้พัฒนาการด้านอื่นๆ ดีขึ้นด้วย โดยศึกษาการใช้โปรแกรมศิลปะบำบัดแบบเข้มข้น ในเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 8 คน เป็นเวลา 2 ภาคเรียน พบว่าระดับพัฒนาการด้านการขีดเขียด (graphic developmental level) เพิ่มขึ้นจาก 5 เดือน เป็น 33 เดือนSilver พบว่าศิลปะเป็นเสมือนภาษาที่สอง ของกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องในการสื่อสาร และการเรียนรู้ เด็กสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept) ผ่านทางศิลปะได้เร็วกว่าวิธีการสื่อสารหลัก และสามารถใช้งานศิลปะสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เขารู้และสิ่งที่เขาคิด ดังนั้นศิลปะจึงนำไปสู่เป้าหมายในการบำบัดได้ดี












26 พฤศจิกายน 2556

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

EAED 2209 เวลา 11.30-14.00 น.


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) มีลักษณะอาการดังนี้

-                  ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
-                  เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
-                  ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย

แบ่งได้เป็น2 ประเภท

-                  เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ วิตกกังวล หนีสังคม                         ก้าวร้าว
-                  การจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบนี้                  สภาพแวดล้อม  ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบที่มีต่อเด็ก

-                  ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
-                  รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
-                  มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-                  เก็บกดทางอารมณ์
-                  มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมากได้แก่

-                  เด็กสมาธิสั้น
-                  เด็กออทิสติก


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

-                  อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า ที่นอน
-                  ติดขวดนม ของใช้ในวัยทารก
-                  ดูดนิ้ว กัดเล็บ
-                  หงอยเหงาเศร้าซึม หนีสังคม
-                  เรียกร้องความสนใจ
-                  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
-                  ก้าวร้าว
-                  ฝันกลางวัน
-                  เพ้อเจ้อ

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disability) L.D มีลักษณะดังนี้

-                  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
-                  ปัญหาการใช้ภาษา การพูด การเขียน
-                  ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ
                   ความบกพร่องทางร่างกาย

ลักษณะอาการ

-                  ไม่เก่งคณิต
-                  ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
-                  เล่าเรื่อง ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
-                  มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน
-                  รับลุกบอลไม่ได้
-                  ติดกระดุมไม่ได้
-                  เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก (Autistic) เป็นความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรมสังคมและความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ เด็กออทิสติกแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเอง                               ลักษณะของเด็กออทิสติก

-                  โลกส่วนตัวสูง
-                  ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
-                  ไม่ยอมพูด
-                  เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
-                  ยึดติดวัตถุ
-                  ต่อต้าน แสดงอาการอารมณ์รุนแรงไร้เหตุผล
-                  มีทีท่า เหมือนคนหูหนวก
-                  ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยวิธีการที่ต่างๆจากคนทั่วไป

พิการซ้อน (Childern with Multiple Handicaps) คือเด็กที่มีความบกพร่อง มากกว่า1อย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมากลักษณะอาการเช่น

-                  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
-                  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
-                  เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด







19 พฤศจิกายน 2556

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


EAED 2209 เวลา 11.30-14.00 น.


เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments )

เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
มีปัญหาทางระบบประสาท
มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

จำแนกได้เป็น2ลักษณะ

1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
2. อาการบกพร่องทางสุขภาพ
อาการบอกพร่องทางร่างกาย

            ซี.พี (Cerebral Palsy ) สมองพิการ มีลักษณะดังนี้

1. เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอกระหว่างคลอดหรือหลังคลอด
2. การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน

อาการ

1. อัมพาตเกร็งของแขนขา / ครึ่งซีก (Spastic)
2. อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid)
3. อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
4. อัมพาตตึงแข็ง (Rigid)
5. อัมพาตแบบผสม (Mixed)

            กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วยนั้นๆเสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

            โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
ระบบกระดูดกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่นวัณโรคกระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

            โปลิโอ (Poliomyelitis)
มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม แขนขาด้วนแต่กำเนิด

            ความบกพร่องทางสุขภาพ

            โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง มีลักษณะอาการดังนี้

-                  ลมบ้าหมู
-                  การชักในช่วงเวลาสั้นๆ
-                  การชักแบบรุนแรง
-                  อาการชักแบบ Partial Complex
-                  อาการไม่รู้สึกตัว

โรคระบบทางเดินหายใจ

-                  เบาหวาน
-                  ข้ออักเสบรูมาตอยด์
-                  ศรีษะโต
-                  หัวใจ
-                  มะเร็ง
-                  เลือดไหลไม่หยุด

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

-                  ปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-                  ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-                  เดินขากะเผลก
-                  ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-                  มักบ่นเจ็บหน้า บ่นปวดหลัง
-                  หน้าแดงง่าย
-                  หกล้มบ่อยๆ
-                  หิวกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

 เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders)

        เด็กที่พุดไม่ชัดออกเสียงผิดเพี้ยนอวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติ     ขณะพูด

-                   ความผิดปกติด้านการออกเสียง
-                   ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด
-                   ความผิดปกติด้านเสียง
-                  ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไปเรียก                 ว่าDysphasia หรือ Aphasia

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา

-                  วัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆและอ่อนแรง
-                  ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
-                  ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
-                  หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
-                  มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-                  ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย



12 พฤศจิกายน 2556

วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


EAED 2209 เวลา 11.30-14.00 น.




สรุปองค์ความรู้